Startup ต้องคู่กับนวัตกรรมเสมอหรือไม่

Startup ต้องคู่กับนวัตกรรมเสมอหรือไม่

8 ธันวาคม 2561บทความ2,928

HIGHLIGHTS :




ก่อนอื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกับคำว่า “นวัตกรรม” ที่ยังคงมีความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำนี้ ที่เห็นบ่อยๆ ดังนี้





ดังนั้น คำว่านวัตกรรมพอจะสรุปเป็นความหมายที่จำได้ง่ายๆ อยู่ 3 คำ คือ 1. เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ 2. พัฒนาสิ่งใหม่ และ 3. มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้ได้



แล้วสตาร์ทอัพต้องคู่กับนวัตกรรมเสมอหรือไม่....คำตอบคือใช่ เพราะหากธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นมา ไม่สามารถสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ มาตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ สตาร์ทอัพเหล่านั้น ก็ไม่มีความโดดเด่น หรือแตกต่างจากธุรกิจเดิม ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความได้เปรียบในการแข่งขันก็ไม่เกิด เพราะคนที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า เราเข้ามาแข่งขัน กับธุรกิจที่มีอยู่แล้ว แต่เราต้องทำให้ดีกว่า สะดวกกว่า ประหยัดกว่า เร็วกว่า โดยใช้หลัก Anywhere, Anytime และ Any Device เราถึง จะสามารถ Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ได้



คำถามต่อมา จึงตามมาด้วยว่าแล้วผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่อยากทำธุรกิจสตาร์ทอัพ จะพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาได้อย่างไร ... คำตอบคือ ต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ทดลองและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการพัฒนานวัตกรรม ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญหรือโชคช่วย แต่เป็นวิธีการคิดและทำอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการพิสูจน์สมมติฐาน โดยกระบวนการคิดพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมนั้น มี 3 ขั้นตอน* ดังนี้



1. การสำรวจและคัดเลือก : ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่สำคัญมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่เราจะต้องออกไปสำรวจและวิเคราะห์หาความต้องการที่แท้จริง หรือปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าให้เจอ (Customer Insights) จากนั้น นำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการทำตลาด เพราะขนาดของตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือก



2. การสร้างต้นแบบความคิด : เลือกร่างทางความคิดมาหลายๆ รูปแบบ อย่างน้อย 5 รูปแบบโดยต้องคำนึงว่าเป็นสิ่งใหม่ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน สามารถสร้างมูลค่าได้ แล้วนำไปหาฟีดแบคในเบื้องต้น เพื่อดูว่าความคิดอันไหนที่มีศักยภาพมากที่สุด สำหรับนำไปพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการต้นแบบ (MVP: Minimum Viable Product) ต่อไป



3. การทดลองและพัฒนาต่อเนื่อง : เมื่อได้สินค้าต้นแบบแล้ว ให้นำไปให้ลูกค้าทดลอง เก็บข้อมูลแล้วนำมาปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพื่อขยายผลต่อไป รวมถึงพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง จนไปสร้างให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่ลูกค้าขาดไม่ได้ จนกระทั่งถึงการบอกต่อ เพื่อการหนีคู่แข่งไปอยู่ในระดับ Top of Mind ของลูกค้าให้ได้



โดยขั้นตอนเหล่านี้ เป็นขั้นตอนที่เหล่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ ต่างก็นำไปใช้ในการเริ่มธุรกิจมาแล้วทั้งนั้น ดังนั้น ในยุคดิจิทัลนี้ หากคุณต้องการทำธุรกิจให้อยู่รอดได้อย่างเข้มแข็ง การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ หรือการปฏิรูปของเดิมให้เป็นสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของผู้คนง่ายขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม... นี่แหละ คือวิถีการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมอย่างแท้จริง



* อ้างอิงจาก Krisada Sektrakul, SET Entrepreneur Classroom, MIT Sloan School of Management






บทความโดย : นุชนาถ คุณความดี



ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ



ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย



ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ