ระดมทุน ใครว่ายาก หากเราเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้! หนึ่งในพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ประกอบการในการเตรียมตัวสู่การระดมทุน คือเรื่องของความรู้ ซึ่ง "ห้องเรียนผู้ประกอบการ" ได้เตรียมความรู้มาเสิร์ฟให้คุณถึงที่กับซีรีส์ เคล็ดลับระดมทุน จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย
ซีรีส์เคล็ดลับระดมทุน
>> 3 เรื่องสตาร์ทอัพควรรู้ ก่อนเริ่มระดมทุน
>> การแบ่งสัดส่วนผู้ถือหุ้นสำหรับสตาร์ทอัพ
>> ประเมินมูลค่าธุรกิจสตาร์ทอัพ
>> Pitching Technique 3 เทคนิคการขายงาน ให้ได้ใจนักลงทุน
>> เรียนรู้เพิ่มเติมที่ e-Learning
3 เรื่องสตาร์ทอัพควรรู้ ก่อนเริ่มระดมทุน
เพราะการระดมทุนคือหัวใจสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตไปอีกขั้น ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ คือธุรกิจควรจะระดมทุนเมื่อไหร่ ยอดขาย กำไร กระแสเงินสด ตามวงจรธุรกิจ ของแต่ละช่วงเป็นอย่างไร สัมพันธ์กับเรื่องการระดมทุนอย่างไร
แหล่งเงินทุน มีทั้งหมด 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเงินทุนภายในธุรกิจ, สินเชื่อ/หนี้สิน, การร่วมหุ้น/ทุน ทั้ง 3 แหล่งเงินทุนนี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ผู้ประกอบการควรเลือกแหล่งเงินทุนให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากเรื่องของต้นทุนของแหล่งเงินทุน การสูญเสียอำนาจในการควบคุมองค์กร ความต้องการเร่งการเติบโต และความเสี่ยง
นอกจากนี้ต้องรู้ด้วยว่าธุรกิจของเราอยู่ในระยะไหน โดยแบ่งเป็น Pre-seed, Seed, Growth, Expansion, Maturity ซึ่งในแต่ละระยะ แหล่งเงินทุนหรือนักลงทุนที่จะเข้ามาก็จะแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่มักมาจาก แหล่งเงินทุนของผู้ก่อตั้ง (Founder) และผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-Founder) ซึ่งโดยทั่วไปมักแบ่งหุ้นกันด้วยวิธีง่ายๆ ตามจำนวนเงินที่ลงทุน หรือตามจำนวนผู้ก่อตั้งในช่วงแรก
แต่วิธีการนี้อาจตามมาด้วยปัญหามากมายในอนาคต เพราะไม่ได้สะท้อนถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสามารถและความทุ่มเทที่เหมาะสมของผู้ก่อตั้งแต่ละคน ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจ การเติบโต รวมถึงอาจเกิดความขัดแย้งในเรื่องความไม่เท่าเทียม และไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนที่ดีได้
ประเมินมูลค่าธุรกิจสตาร์ทอัพ
การระดมทุนในแต่ละครั้ง สิ่งสำคัญที่ต้องตกลงกันระหว่าง Founder และนักลงทุน คือจะระดมทุนเท่าไหร่ นำไปใช้สร้างการเติบโตอย่างไร และมูลค่าเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมในการร่วมลงทุน
การเข้าใจในแนวคิดและวิธีประเมินมูลค่าธุรกิจสตาร์ทอัพ จะพาให้การเจรจาตกลงออกมาเป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
Pitching Technique 3 เทคนิคการขายงาน ให้ได้ใจนักลงทุน
หลายครั้งที่ธุรกิจมีไอเดียที่เจ๋ง แผนที่ดีแล้ว แต่ทำไมยังขายให้นักลงทุนซื้อไม่ได้สักที?
นั่นเพราะคุณยังขาด “เทคนิค” การ Pitching ไม่ใช่การขายของธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่คือการนำเสนอบริษัทหรือไอเดียทางธุรกิจ ให้กับนักลงทุนสนใจต้องการร่วมลงทุนกับเราต่างหาก
3 เทคนิคการ Pitching ให้ได้ใจนักลงทุน ที่คุณควรนำไปใช้
1) Story Telling : ใช้แนวคิดเรื่อง The Golden Circle ในการเล่าเรื่อง เริ่มจากคำถามที่ยากที่สุด คือ "Why" ทำไมคุณต้องทำธุรกิจนี้ ต่อด้วย How คุณจะทำอย่างไร และ What สิ่งนั้นคืออะไร
2) Deck Design : ออกแบบสไลด์ให้สวยงาม ให้ความสำคัญกับเรื่อง Theme / Color , Font , การจัดวาง Text , Background , Demo , Timeline , Graph
3) Body Language : แสดงท่าทางภาษากายให้ดู Professional ด้วยการแสดง Eye Contact การใช้ภาษามือ โดยการวางมือให้อยู่ในช่วงหน้าผากถึงเข็มขัด และการยืนด้วยระยะการกางขาที่ห่างเท่ากับหัวไหล่พร้อมเปิดปลายเท้า
เรียนรู้เพิ่มเติมที่ e-Learning
หากยังไม่จุใจ ไปเรียนรู้กันแบบเจาะลึกในแต่ละเรื่องได้ที่ e-Learning ห้องเรียนผู้ประกอบการ
หลักสูตร Introduction for Fundraising โดย ดร. ธนรรภรณ์ เศรษฐ์จินดา
หลักสูตร Shareholder Structure in Your Startup โดย คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์
หลักสูตร Startup Valuation โดย คุณกัมปนาท วิมลโนท
หลักสูตร Pitching Technique โดย คุณพงศธร ธนบดีภัทร