HIGHLIGHTS :
เวลาในการอ่าน 4 นาที
ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมทั้งเล็กและใหญ่ รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้เหล่า Start-up ต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์แบบนี้ให้ได้ และแน่นอนผลกระทบจาก Covid-19 นี้ ทำให้เหล่านักลงทุน VC เองต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการดำเนินการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นกัน โดยหัวข้อต่อไปนี้เป็นคำแนะนำให้กับเหล่าผู้ก่อตั้ง Start-up ทั้งที่กำลัง Raise Fund อยู่ ณ ช่วงเวลานี้ หรือแม้ว่าได้ Raise Fund ไปแล้ว เพื่อให้เข้าใจในมุมมองของ VC มากขึ้น
1. โฟกัส Start-up ที่ลงทุนไว้อยู่แล้ว มากกว่ามองหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ
VC ส่วนมากจะจัดการทรัพยากรอันจำกัดในทีม มาเน้นช่วย Start-up ที่ตนเองได้ลงทุนไปแล้วมากขึ้นและบ่อยขึ้น ซึ่งเป็น Priority ในช่วงวิกฤตนี้ มากกว่าใช้ทรัพยากรในการเสาะหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่
2. ปรับกลยุทธ์การลงทุน
นักลงทุน VC จริงๆ แล้วก็คือผู้จัดการกองทุน ประเภทหนึ่งที่ Raise Fund มาจาก Investor อีกที ซึ่งแม้ว่าเงินจำนวนดังกล่าว (ส่วนใหญ่) จะ Raise มาช่วงก่อนวิกฤต Covid-19 และมาพร้อมกับ Investment Policy ที่เคยวางแผนเอาไว้ แต่เชื่อว่านักลงทุน VC แทบทุกคน จะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความเสี่ยง ภาพรวมตลาด และสังคมที่เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับประเภทของ VC นั้นๆ
หากต้องลงทุน VC จะมองหา Start-up สักตัว โดยจะพิจารณาตัวที่มีโอกาสอยู่รอดในช่วงวิกฤต และสามารถเติบโต เก็บเกี่ยวจาก "New Normal" หลังวิกฤตได้มากเป็นพิเศษ และ “Timing” นั่นคือ จังหวะของเทคโนโลยีนั้นๆ ว่า Business Model ของแต่ละ Start-up มีโอกาสทางธุรกิจที่จะกอบโกยในช่วงนี้ที่เกิดการ Disruption ได้หรือไม่ ซึ่งก็จะเป็นส่วนสำคัญต่อการพิจารณาการลงทุน สำหรับ VC มากกว่าช่วงใดๆ ณ ขณะนี้
Quadrant นี้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างกระบวนการคิด การแบ่งประเภทของ Start-up ตามวิกฤตการณ์ Covid-19 นี้ โดยเส้นแนวนอนจะเป็นการบอกถึงสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในขณะที่ เส้นแนวตั้งจะเป็นการประมาณการณ์ในอนาคต ซึ่งแล้วแต่มุมมองและกลยุทธ์ของนักลงทุน VC นั้นๆ ว่าจะมีมุมมองถึง “New Normal” อย่างไร
ในมุมของ VC (ส่วนใหญ่) อาจโฟกัสไปที่ช่องที่ 2 เป็นหลัก ซึ่งก็คือ ผู้อยู่รอดและผู้ชนะหลังวิกฤตมากกว่าช่องอื่นๆ ในขณะที่การลงทุนอาจจะโฟกัสต่อยอดไปที่ช่อง 1 ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านลบ แต่มีโอกาสสูงมากๆ ที่จะเติบโต หรือกลับมาได้แม้จะได้รับผลกระทบด้านลบในช่วงวิกฤตครั้งนี้
อย่างไรก็ดี Start-up ที่อยู่ในช่องที่ 3 นั่นคือได้รับผลกระทบลบในช่วงวิกฤตและ อาจฟื้นคืนกลับมาได้ยากหลังวิกฤต แต่ก็มิใช่ว่า นักลงทุน VC จะไม่สนใจเลยทีเดียว นักลงทุน VC อาจพิจารณาการลงทุนได้ หาก Founder ของ Start-up ในช่องนี้ปรับตัวหรือ pivot model ให้สามารถขึ้นไปอยู่ในช่องที่ 1 ได้
ตัวอย่างผู้อยู่รอดและผู้ชนะจากวิกฤตในครั้งนี้คงหนีไม่พ้นตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือ Start-up ผู้ให้บริการ Virtual Meeting ที่ทุกคนคงจะรู้จักในวันนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ราคาหุ้นของ Zoom นั้นได้พุ่งทะยานสวนทางกับดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการ Work From Home และเป็น New Normal ในมุมมองของนักลงทุนทั่วโลก (NASDAQ: ZM)
ทั้งหมดนี้คือมุมมองการปรับตัวของนักลงทุน VC ในช่วงวิกฤต ซึ่ง Start-up สามารถเรียนรู้เป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน และขอให้เข้าใจว่า ยังมีนักลงทุน VC ที่มองหาโอกาส การลงทุนในช่วงวิกฤตอยู่มาก แต่โอกาสนั้นๆ จะเทน้ำหนักไปที่ธุรกิจที่ปรับตัว ให้ความสำคัญกับการรักษา Culture และทีมงานอย่างเหมาะสม รวมถึงแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้อยู่รอด และมีโอกาสเติบโตได้ หลังช่วง “New Normal”