HIGHLIGHTS:
เวลาในการอ่าน 8 นาที
บทความชุด “วิธีการบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม ที่นักบัญชีไม่เคยบอกคุณ” จะมาแนะนำแนวทางการปันส่วนต้นทุนโดยการบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ สามารถปันส่วนต้นทุนให้กับสินค้าหรือบริการของกิจการได้ดียิ่งขึ้น ผ่านบทความ 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบการวิเคราะห์ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมกับต้นทุนระบบต้นทุนฐานกิจกรรม
ตอนที่ 3 จุดอ่อนของการคิดต้นทุนฐานกิจกรรมแบบแบบดั้งเดิม
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมโดยใช้เวลาเป็นตัวผลักดัน
ตอนที่ 5 การบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม
ตอนที่ 6 กลยุทธ์ในการจัดการกิจกรรม
เพื่อให้เข้าใจการนำระบบ Activity-Based Costing System หรือ ABC มาใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนแทนระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม จะแสดงการวิเคราะห์ต้นทุนจากทั้งสองระบบ เพื่อให้ทราบว่าช่วงเวลาใดควรนำระบบ ABC มาใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุน เนื่องจากในบางกิจการอาจยังใช้ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมอยู่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง บริษัท เอสเอ็มอี จำกัด ผลิตสินค้า 2 ชนิด ได้แก่ SME1 เป็นสินค้าทั่วไป และ SME2 เป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ และมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ปัจจุบันกิจการใช้ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมในการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิต โดยใช้ชั่วโมงแรงงานทางตรง (Direct Labor Hour) เป็นฐานในการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิต โดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
1) สินค้าแต่ละชนิด ใช้ชั่วโมงแรงงานทางตรง 1 ชั่วโมงในการผลิตสินค้า 1 หน่วย
2) ค่าใช้จ่ายการผลิต 8,400,000 บาท นำมาใช้ในการทำกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ การเดินเครื่องจักร การปรับตั้งเครื่องจักร และการตรวจสอบคุณภาพ จากการสอบถามฝ่ายบริหารชี้แจงว่า มีสัดส่วนของเวลาที่ทำกิจกรรม ดังนี้
3) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลักดันต้นทุน
การวิเคราะห์เปรียบเทียบการวิเคราะห์ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมกับต้นทุนระบบต้นทุนฐานกิจกรรม และสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้
วิธีที่ 1 การวิเคราะห์ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม
การคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตตามระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมใช้ชั่วโมงแรงงานทางตรงเป็นฐาน และใช้เป็นอัตราเดียวทั้งกิจการ
วิธีที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนระบบต้นทุนฐานกิจกรรม
การใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 จำแนกค่าใช้จ่ายการผลิตให้แต่ละกิจกรรมตามปริมาณการเกิดกิจกรรม ดังนี้
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณอัตราการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตต่อตัวผลักดันต้นทุน
ขั้นตอนที่ 3 จัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตในแต่ละกิจกรรมเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าแต่ละชนิด
สินค้า SME1 ปริมาณการผลิต 20,000 หน่วย
สินค้า SME2 ปริมาณการผลิต 4,000 หน่วย
ขั้นตอนที่ 4 คำนวณต้นทุนของสินค้าต่อหน่วย โดยการนำค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วยของสินค้าแต่ละประเภทในขั้นตอนที่ 3 มารวมกับค่าวัตถุดิบทางตรงและค่าแรงงานทางตรง โดยจะมีต้นทุนการผลิตรวมต่อหน่วยของสินค้า ดังนี้
สรุปเปรียบเทียบการวิเคราะห์ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมกับต้นทุนระบบต้นทุนฐานกิจกรรม
จากข้อมูลเปรียบเทียบการวิเคราะห์ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมกับต้นทุนระบบต้นทุนฐานกิจกรรม สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนที่ได้จากระบบต้นทุนสองระบบ ดังนี้
1. ระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม บริษัท เอสเอ็มอี จำกัด ทำการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตโดยใช้ฐานปริมาณ คือ ชั่วโมงแรงงานทางตรงเป็นฐานในการปันส่วน โดยใช้แรงงานทางตรง 1 ชั่วโมง ในการผลิตสินค้า 1 หน่วย ทำให้ค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วยที่ปันส่วนเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าแต่ละชนิดจึงเท่ากัน
2. ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ให้ข้อมูลต้นทุนของสินค้าที่แตกต่างจากระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม เนื่องจากสินค้า SME1 เป็นสินค้าทั่วไป และ SME2 เป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ และมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายการผลิตจึงปันส่วนให้กับสินค้าทั้งสองชนิด ต่างกันตามปริมาณการใช้กิจกรรมในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด และทำให้การเกิดการสื่อสารต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้า ที่สมเหตุสมผลและถูกต้องมากกว่าระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ตาม หากสินค้าทั้งสองชนิดใช้กิจกรรมในกระบวนการผลิตใกล้เคียงกัน จะทำให้ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยใกล้เคียงกับระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม บริษัท เอสเอ็มอี จำกัด ก็สามารถใช้ข้อมูลต้นทุนการผลิตจากระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมเพื่อประกอบการตัดสินใจได้
ในตอนถัดไป การคิดต้นทุนฐานกิจกรรมหรือ ABC เป็นการปันส่วนต้นทุนสินค้าหรือบริการ ที่องค์กรสามารถนำไปใช้ในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อกิจการ แต่ในทางปฏิบัติการใช้ระบบ ABC บางส่วนกลับประสบปัญหาทั้งเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล และต้องปรับปรุงข้อมูลของกิจกรรมให้มีความทันสมัย จึงขอให้ผู้อ่านโปรดติดตามตอนต่อไป ตอนที่ 3 จุดอ่อนของการคิดต้นทุนฐานกิจกรรมแบบแบบดั้งเดิม
เรียบเรียงโดย : อาจารย์ธเรศ สันตติวงศ์ไชย, CPA
ผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้าสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
เลขานุการคณะทำงานโครงการเครือข่ายหลักสูตรทางการบัญชีในประเทศไทย
และอนุกรรมการกลั่นกรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์