ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 16)

ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 16)

October 11, 20211,548


HIGHLIGHTS :




  • ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 16) :  พัฒนาการเกี่ยวกับ Carbon Emission และ Carbon Credits ในประเทศจีน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น รวมถึงในกลุ่มสหภาพยุโรป



เวลาในการอ่าน 5 นาที









บทความชุด “ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน”



ตอนที่ 1 : ทำความเข้าใจกับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ภาวะโลกร้อนและผลกระทบ ตลอดจนข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ



ตอนที่ 2 : ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกจากสถาวะโลกร้อน รวมทั้งสรุปสถานการณ์ในมิติสังคมโลกที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ที่จะช่วย “ชี้เป็นชี้ตาย” ในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนนี้



ตอนที่ 3 : แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมถึงมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งภาคธุรกิจควรได้รับทราบจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปได้อย่างเหมาะสม



ตอนที่ 4 : บทสรุปของการใช้พลังงานฟอสซิลที่ทำให้โลกร้อน และในมิติของภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานฟอสซิล จะสามารถมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานฟอสซิล เพื่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจะย้อนกลับมาส่งผลดีต่อมูลค่าและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 5 : การตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เริ่มได้โดยการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของธุรกิจ เพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนในการลดผลกระทบดังกล่าว ถือเป็นการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และส่งผลดีต่อการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 6 : รู้จักกับพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ประเภทต่างๆ ที่ธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญ และสามารถเลือกนำมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลเพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้



ตอนที่ 7 : เทรนด์ใหม่ๆ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน และพลังงานหมุนเวียนกับเป้าหมายการลดโลกร้อนของไทย



ตอนที่ 8 : สรุปเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ของกระทรวงพลังงาน



ตอนที่ 9 : ศักยภาพวัตถุดิบพลังงานทดแทนในประเทศ ทั้งในส่วนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ชีวมวล ขยะ ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล ไบโอเอทานอล รวมถึงพลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่ๆ อย่างไม้โตเร็ว



ตอนที่ 10 : แนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติในหลายมิติ



ตอนที่ 11 : รู้จักกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” ถึงความหมายและความสำคัญ ตลอดจนการนำมาสู่ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งกำลังพัฒนาในประเทศไทย และจะเป็นกลไกสำคัญที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้



ตอนที่ 12 :  เข้าใจประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)  รวมถึงรู้จักกับวิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในลักษณะของ Carbon Emission Trading Schemes (ETS) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุโรปและอีกหลายประเทศ



ตอนที่ 13 :  รู้จักกับกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ทั้งในตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Market / Compliance Market / Regulated Market)  และในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Market)



ตอนที่ 14 : รู้จักกับ Cap and Trade กลไกที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Market) รวมถึงรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวกับ Cap and Trade ในสหรัฐอเมริกา



ตอนที่ 15 :  เงื่อนไขสำคัญของการเข้าซื้อขาย Carbon Credits ระหว่างประเทศ และพัฒนาการด้าน Cap and Trade ในประเทศออสเตรเลียและแคนนาดา



ตอนที่ 16 : พัฒนาการเกี่ยวกับ Carbon Emission และ Carbon Credits ในประเทศจีน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น รวมถึงในกลุ่มสหภาพยุโรป



บทความในตอนนี้ยังอยู่ในเหตุการณ์ของประเทศสำคัญที่ Response ต่อการดำเนินการเกี่ยวกับ Carbon Emission และ Carbon Credits ภายหลังการเกิดขึ้นของ Kyoto Protocol ในปี 2005 ซึ่งในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงประเทศ Australia และ Canada ไป



1. Country Focus-China



China เป็นประเทศใหญ่ที่คาดการณ์ว่าเพียง China และ USA 2 ประเทศ ก็มีปริมาณการปล่อย CO2 ออกมาถึงประมาณ 40% ของปริมาณการปล่อย CO2 ของทั้งโลก ในการประชุม Durban Conference ปี 2011 China ได้เสนอเงื่อนไข 5 ประการ หากจะให้ลงนามต่อใน Kyoto Protocol ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเสนอ New Target ในการปล่อย CO2 ของประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว โดย China ถือว่าประเทศตนยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และในเงื่อนไขสำคัญอีก 2 ประการคือ china ยังร้องขอความช่วยเหลือการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Climate และด้าน Low Carbon เพื่อมาช่วยให้ China พัฒนาแก้ไขปัญหาการปล่อย CO2 ให้ได้ดีขึ้น



2. Country Focus-New Zealand



ในอดีตที่ผ่านมา New Zealand มีช่วงเวลาสนับสนุนนโยบาย Deforestation เพื่อไปทำ Dairy Farm ซึ่งถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าการลดพื้นที่ป่านี้เป็นเหตุให้การดูดซับ CO2 ลดลง แถมฟาร์มปศุสัตว์เหล่านี้ยังไปเพิ่ม CO2 ออกไปอีก จนถึงปี 2012 มีการคาดการณ์ว่าพื้นที่ป่าของ New Zealand ได้ลดลงถึง 44,000 Hectares ในเชิงเศรษฐศาตร์มีการคำนวณว่าเกิด “Deforestation Liability” ในมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 เพื่อจะลดการขยายพื้นที่ฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งเริ่มได้รับการคัดค้านมากขึ้น รัฐบาล New Zealand เริ่มเก็บภาษีที่เรียกว่า a deforestation tax ขึ้นสำหรับผู้ที่จะใช้พื้นที่ป่าที่มีการปลูกมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 แต่กลับกลายเป็นว่ามีการเร่งลดพื้นที่ป่าเพื่อทำ Dairy Farm กันอย่างเต็มที่ให้ทันก่อน Deadline ที่จะเสียภาษี



3. Country Focus – European Union (EU)



ทวีปยุโรปถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าและสนับสนุนการเกิดขึ้นของ Cap and Trade มากที่สุด ในเดือนมกราคม2005 EU ได้พัฒนา Emission Trading System (ETS) ซึ่งมีสมาชิก 27 ประเทศเข้าร่วม มีการกำหนด Initiative Target ของการปล่อย CO2 ให้แก่ธุรกิจใน Utility Plants, Power Steel และ Cement Factories และขยายต่อมายังธุรกิจอื่นๆ เช่น ในปี 2012 มีการกำหนดเป้าหมายการปล่อย CO2 แก่ Airline Companies แม้ว่าการทำเช่นนี้เป็นการทำให้ต้นทุนของสายการบินสูงขึ้นและต้องไปขึ้นค่าธรรมเนียมของค่าโดยสารเครื่องบินใน EU ก็ตาม



Eu มีการวางแผนการดำเนินงานเรื่อง Carbon Emission อย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 phase (2005-2008, 2008-2013, 2013-2020) โดยแต่ละ phase จะมีการกำหนดอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ที่จะขยายไป โดยมีเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นสุด phase 3 จะลดการปล่อย CO2 ทั้ง EU ลงได้ 21% เมื่อเทียบกับปี 2005 ที่เป็นจุดเริ่มต้น



ใน phase ที่1 ถือว่าเป็นช่วง Failure เพราะข้อมูลพบว่ามี Supply ของ Carbon Credits ออกมามากกว่า Demand จาก Polluting Companies  ประมาณการว่าเกิด Oversupply ประมาณ 2.3% ในตลาด Carbon Credits ทำให้ราคาของ Carbon Credits ลดลง อีกทั้ง บริษัทที่ปล่อย CO2 เกินกว่ากำหนด ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่เข้ามาซื้อ Carbon Credits ก็ไม่ต้องทำอะไร ไม่มีใครว่า ส่วนบริษัทที่มี Supply เหลือ อาจเกิดจากการกำหนดเป้าหมายปล่อยไว้สูงเกิน พอตนเองทำการปล่อย CO2 จริงน้อยกว่าเป้าที่สูงขึ้นไปนั้น ก็เหลือ Supply ของคาร์บอนเครดิตแบบฟรีๆ ไม่ต้องทำอะไร สามารถนำออกขายสร้างผลกำไร แม้ว่าราคา Carbon Credits จะลดลงก็ตาม และเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน phase 2 ทาง EU จึงเพิ่มปริมาณ CO2 ที่ต้องการให้ลดลงใน phase ที่ 2 นี้ อีก 5% ทำให้ Demand และ Supply มีความสมดุลกันมากขึ้น



ในปี 2010 Sandbag ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรใน UK ได้สรุปการไม่ประสบความสำเร็จของ ETS ไว้โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้



(1) Inappropriate Target



การตั้งเป้าของ EU ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี 2020 เมื่อเทียบจากปีฐาน 1990 นั้นเมื่อมาถึงปี 2009 ลดลงได้เพียง 11.6% ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายอีกมากและจะไม่ประสบความสำเร็จหากดำเนินการแบบเดิม Sandbag ได้เสนอปรับเป้าหมายใหม่เป็นการลด CO2 ลง 30% เพื่อไปชดเชยปริมาณ CO2 ที่ต่ำกว่า เป้าหมายในช่วงแรก



(2) Sectoral Overallocation



ในช่วง Second Phase นั้น ปริมาณ Carbon Credits ที่เป็น Over Supply มีอยู่ 233 ล้านหน่วยในตลาด   โดยเฉพาะในช่วงปี 2008-2009 ซึ่งทำให้คาดการณ์ได้ว่า จะมีการปล่อย CO2 มากขึ้นในระยะต่อไป เพราะบริษัทที่ปล่อยเกินสามารถมาซื้อไปชดเชยได้ง่ายในราคาถูกลง Sandbag ได้เสนอให้มีการปรับ Caps ใหม่ให้เหมาะสมใน Phase 3



(3) Strategic Carbon Reserve



Sandbag ได้แนะนำให้มีการกำหนด “Strategic Carbon Reserve” เอาไว้ กรณี Demand สำหรับ Carbon Credits มีการลดลงอย่างรวดเร็ว (หรือเกิด Oversupply ขึ้น) การเก็บ Reserve เอาไว้ เป็นการดึงไม่ให้ Carbon Credits ที่ยังไม่เป็นที่ต้องการออกมารวดเร็วจนเกินไป



4. Country Focus-Japan



กรณีเมืองใหญ่เช่น Tokyo ใน Japan นั้น มีประชากรทั้งในเมืองและบริเวณรอบๆ ครอบคลุมประชากรมากถึง 34 ล้านคน และมีการใช้พลังงานมากพอๆ กับ เขตตอนเหนือของยุโรปเลยทีเดียว ขณะเดียวกันก็หมายถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อย CO2 จำนวนมากออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย ในเดือนเมษายน 2010 เมือง Tokyo ได้ประกาศใช้ Cap-and-trade program มาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อควบคุมการปล่อย CO2 ในกิจกรรมต่างๆ โดยมีเป้าหมาย การลดการปล่อย CO2 นี้ลง 25% ภายในปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณ CO2 ที่ปล่อยในปีฐาน 2000 ในระยะแรกของโครงการนี้ มีการกำหนดให้บริษัทชั้นนำใน Tokyo จำนวน 1,400 แห่งเข้าร่วมและมีเป้าหมายว่าภายในปี 2014 จะลดการปล่อย CO2 นี้ลงจากเดิม 6% และบริษัทที่ไม่สามารถบรรลุได้ จะต้องเข้าไปซื้อ Carbon Allowances  (หรือ Carbon Credits) มาชดเชยผ่านระบบ Cap and Trade อย่างไรก็ดีเมื่อมีการพยายามผลักดันให้ขยายผล Cap and Trade ออกไปสู่ระดับประเทศในขณะนั้น ก็ยังถูกคัดค้านจากนักการเมืองในรัฐสภาของ Japan





เขียนโดย : ดร.กฤษฎา เสกตระกูล, CFP®   



รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


แบ่งปัน :

คุณอาจจะสนใจ