ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 15)

ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 15)

October 11, 20212,132


HIGHLIGHTS :




  • ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 15) : เงื่อนไขสำคัญของการเข้าซื้อขาย Carbon Credits ระหว่างประเทศ และพัฒนาการด้าน Cap and Trade ในประเทศออสเตรเลีย และแคนนาดา



เวลาในการอ่าน 5 นาที









บทความชุด “ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน”



ตอนที่ 1 : ทำความเข้าใจกับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ภาวะโลกร้อนและผลกระทบ ตลอดจนข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ



ตอนที่ 2 : ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกจากสถาวะโลกร้อน รวมทั้งสรุปสถานการณ์ในมิติสังคมโลกที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ที่จะช่วย “ชี้เป็นชี้ตาย” ในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนนี้



ตอนที่ 3 : แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมถึงมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งภาคธุรกิจควรได้รับทราบจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปได้อย่างเหมาะสม



ตอนที่ 4 : บทสรุปของการใช้พลังงานฟอสซิลที่ทำให้โลกร้อน และในมิติของภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานฟอสซิล จะสามารถมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานฟอสซิล เพื่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจะย้อนกลับมาส่งผลดีต่อมูลค่าและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 5 : การตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เริ่มได้โดยการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของธุรกิจ เพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนในการลดผลกระทบดังกล่าว ถือเป็นการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และส่งผลดีต่อการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 6 : รู้จักกับพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ประเภทต่างๆ ที่ธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญ และสามารถเลือกนำมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลเพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้



ตอนที่ 7 : เทรนด์ใหม่ๆ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน และพลังงานหมุนเวียนกับเป้าหมายการลดโลกร้อนของไทย



ตอนที่ 8 : สรุปเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ของกระทรวงพลังงาน



ตอนที่ 9 : ศักยภาพวัตถุดิบพลังงานทดแทนในประเทศ ทั้งในส่วนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ชีวมวล ขยะ ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล ไบโอเอทานอล รวมถึงพลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่ๆ อย่างไม้โตเร็ว



ตอนที่ 10 : แนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติในหลายมิติ



ตอนที่ 11 : รู้จักกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” ถึงความหมายและความสำคัญ ตลอดจนการนำมาสู่ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งกำลังพัฒนาในประเทศไทย และจะเป็นกลไกสำคัญที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้



ตอนที่ 12 :  เข้าใจประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)  รวมถึงรู้จักกับวิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในลักษณะของ Carbon Emission Trading Schemes (ETS) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุโรปและอีกหลายประเทศ



ตอนที่ 13 :  รู้จักกับกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ทั้งในตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Market / Compliance Market / Regulated Market)  และในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Market)



ตอนที่ 14 : รู้จักกับ Cap and Trade กลไกที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Market) รวมถึงรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวกับ Cap and Trade ในสหรัฐอเมริกา



ตอนที่ 15 :  เงื่อนไขสำคัญของการเข้าซื้อขาย Carbon Credits ระหว่างประเทศ และพัฒนาการด้าน Cap and Trade ในประเทศออสเตรเลียและแคนนาดา



ตอนที่ 16 : พัฒนาการเกี่ยวกับ Carbon Emission และ Carbon Credits ในประเทศจีน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น รวมถึงในกลุ่มสหภาพยุโรป



บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงแนวทางการซื้อขาย Carbon Credits ระหว่างประเทศและพัฒนาการด้าน Cap and Trade ในประเทศสำคัญ โดยเป็นเนื้อหาที่สรุปจาก Cap and Trade and Carbon Credits  : An introduction ของ Ugur Akinci (2009-2014)



1. เงื่อนไขสำคัญของการเข้าซื้อขาย Carbon Credits



เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่




  • ประเทศของธุรกิจที่ต้องการซื้อขาย Carbon Credits ต้องร่วมลงนามใน The Kyoto Protocol 2005 และ Carbon Credits ที่จะนำมาซื้อขายต้องมีมาตราฐานและอยู่ภายใต้กฎ Kyoto’s Clean Development Mechanism (CDM)


  • องค์กรธุรกิจนั้นจะต้องนำ Carbon Saving Project ของตนเองจดทะเบียนตามวิธีของ United National ก่อนจึงจะนำ Carbon Credits ออกซื้อขายได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทพลังงานชั้นนำของอินเดียคือ Oil and Natural Gas Corp (ONGC) ได้นำโครงการเข้าจดทะเบียนโดยคาดการณ์ว่าจะสามารถมี Carbon Credits คงเหลือออกขายได้ถึง 850,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นเงินประมาณ 600 ล้านรูปีหรือคิดเป็น 705 รูปีต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้ผลิต Carbon Credits ออกขายอาจเป็นองค์กรสาธารณะก็ได้ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่ปลูกและอนุรักษ์ป่า ซึ่งพื้นที่ป่าเหล่านั้นช่วยดูดซับและลด CO2 ลงได้



สำหรับผู้ซื้อ Carbon Credits ก็มาจากองค์กรธุรกิจที่ต้องขึ้นทะเบียนเช่นกัน จากประเทศต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมการลงนามใน Kyoto protocol ปี 2005 บางครั้งก็มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่กระบวนการทำธุรกิจยังต้องมี Carbon Emission อยู่จึงหันไปซื้อจากองค์กรผู้ขาย Carbon Credits ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากองค์กรภาคสาธารณะหรือองค์กรธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ONGC ที่ยกตัวอย่างไปดังกล่าว



ในปี 2008 ได้มีการก่อตั้ง Regional Greenhouse Gas Initiative (RGGI) โดย 10 มลรัฐทางด้าน Northeastern และ Mid-Atlantic ของสหรัฐอเมริกาเพื่อหาทางลดการปล่อย CO2 ออกจากโรงงานไฟฟ้าโดยมีการนำแนวคิด  Cap and Trade ไปใช้ครั้งแรกในขณะนั้นราคา Carbon Allowanced หรือ carbon credits อยู่ที่ 1.86 ดอลล่าร์ต่อตัน CO2 มีปริมาณซื้อขายกันถึง 12 ล้านหน่วยจาก 6 มลรัฐ หลังจากนั้นอีก 4 มลรัฐจึงมาเข้าร่วมโดยพื้นที่ 10 มลรัฐนี้มีความเหมาะสมเนื่องจากมีโรงงานไฟฟ้ารวมกันถึง 200 โรง มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจากเดิมให้ได้ 10% ภายในปี 2019 ซึ่งพบว่าบรรลุเป้าหมายได้ตั้งแต่ปี 2018 และในระหว่างสามปีแรกได้มีการซื้อขาย Carbon Credits กันไปสูงถึง 912 ล้านหน่วย



2. Country Focus - Australia



Australia เลือกใช้นโยบาย Carbon Tax ในช่วงที่ผ่านมา โดยมีการกำหนดเป้าหมายลดการปล่อย CO2 ลง 5% ในปี 2020 (เมื่อเทียบกับปี 2000) หรือคิดเป็น 160 ล้านตัน CO2 ซึ่งนโยบายดังกล่าวทำให้กระทบทางลบต่อมูลค่าส่งออกถ่านหิน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของ Australia ประมาณการกันว่าในช่วง 10 ปีแรกของการใช้ Carbon Tax นั้น Australia ได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 23,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ



ในการเก็บ Carbon Tax นั้นรัฐบาล Australia จะเก็บจาก 1,000 บริษัทที่สร้างผลกระทบในการปล่อย CO2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2012 โดยเก็บ 23 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ต่อ 1 ตัน ของ CO2 ก็ถือว่า Australia เป็นประเทศแนวหน้าแห่งหนึ่งที่เห็นความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ดีผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นทำให้ในปี 2015 Australia เริ่มเปลี่ยนนโยบายและหันมาใช้ a cap and trade scheme มาแทนเรื่อง Carbon Tax



3.Country Focus-Canada



Canada มีแหล่งน้ำมันดิบสำรองซึ่งอยู่ในรัฐ Alberta สูงถึง 114 พันล้านบาร์เรล และถือว่าเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบสำรองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รัฐบาล Canada ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ส่งเสริมนโยบาย Cap and Trade แต่ให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่างๆ ที่ออกกฏหมายควบคุมการปล่อย CO2 รัฐ British Columbia ที่ติดอยู่กับ Pacific Coast ดูจะเป็นรัฐที่อยู่ในระดับแนวหน้าที่ยอมรับแนวคิด Cap and Trade โดยร่วมมือกับ 7 รัฐของสหรัฐฯ และ4 รัฐของ Canada ในการจัดตั้ง Western Climate Initiative (WCI) ขึ้นในปี 2012 รวมถึงรัฐ Alberta ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานฟอสซิลใหญ่ที่สุดก็เข้ามาร่วมด้วย โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะมีการลดการปล่อย CO2 ลงปีละ 12% และเปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ไปหาซื้อ Carbon Credits มาชดเชยได้



อย่างไรก็ดีมี 2 รัฐของ Canada เลือกใช้วิธีเก็บ Carbon Tax เพื่อควบคุมการปล่อย CO2  ของภาคอุตสาหกรรมและให้เงินทุนสนับสนุน Clean Alternatives Energy Projects มีข้อมูลสรุปว่ารัฐ Quebec ได้เก็บภาษี Carbon Tax ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2007 และเก็บในอัตรา 3.50 ดอลลาร์แคนาดา (3.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อตัน CO2 ส่วนรัฐ  British Columbia เริ่มเก็บ carbon tax ในเดือนกรกฎาคม 2008 โดยเก็บ 10 ดอลล่าร์แคนาดา (9.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อตัน CO2 และจะเก็บเพิ่มอีก 5 ดอลลาร์แคนาดา (4.77 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อตัน CO2 ต่อปี จนกระทั่งสูงสุดที่ 30 ดอลลาร์แคนาดา (28.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อตัน CO2 ในปี 2012



ด้วยความที่ Canada เป็นผู้ผลิตทรัพยากรพลังงานฟอสซิลรายใหญ่ของโลกจึงมีท่าทีที่ไม่ค่อยอยากลงนามต่อสัญญา Kyoto Protocol ปี 2005  อีกครั้งโดยแสดงท่าทีผ่านการประชุมที่ Durban Conference on Climate Changes ในปี 2011 ทั้งนี้ข้อตกลงใน Kyoto Protocol เมื่อปี 2005 ซึ่งลงนามโดย 191 ประเทศ โดยมีประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว 37 ประเทศลงนามด้วย (ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) ต่างก็ให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อย CO2 โดย Canada กำหนดเป้าหมายที่จะลดการปล่อย CO2 ลงจากปี 2005 ให้ได้ 17% เมื่อถึงปี 2020



ท่าทีเช่นนี้ของ Canada ได้ถูกตั้งคำถามจากประเทศต่างๆ มาก เพราะเท่าที่ผ่านมา Canada ถือว่าเป็นผู้นำในเวทีระหว่างประเทศในการดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ดี Canada ก็ยืนยันคล้ายกับสหรัฐฯ ว่าควรให้ประเทศที่เป็นผู้ปล่อย CO2  รายใหญ่เช่น China ,India ,Brazil ต้องให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อย CO2 ในระดับที่เหมาะสมกับการเป็น Major Polluters ด้วย มีการวิเคราะห์ว่าหาก Canada ต้องปฏิบัติตาม Kyoto Protocol ในช่วงเวลานั้น Canada จะต้องจ่ายเงินซื้อ Carbon Credits สูงถึง 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อชดเชยการปล่อย CO2 ที่เกินข้อตกลงหรือคิดเป็น 890 ล้านตัน CO2 (ในราคา 7.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน CO2) ทำให้ประหยัดงบประมาณไม่ให้ขาดดุลไปได้มาก อย่างไรก็ดีสภาพของโลกที่ยังเป็นปัญหา ท่าทีของประเทศต่างๆ ในขณะนี้เริ่มเปลี่ยนไป การหันมาร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจะมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดี โจ ไบเดนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีความคาดหวังว่าหากสหรัฐอเมริกามีท่าทีที่ดีขึ้นกับการเข้าร่วม Kyoto Protocol จะทำให้พันธมิตรสำคัญเช่น Canada เปลี่ยนท่าทีตามไปด้วย





เขียนโดย : ดร.กฤษฎา เสกตระกูล, CFP®   



รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


แบ่งปัน :

คุณอาจจะสนใจ