ใช้เทคนิค PCAN เมื่อถึงเวลา Pitching
เมื่อพูดถึงคำว่า Pitching เหล่าสตาร์ทอัพทั้งหลาย ก็คงจะคุ้นเคยกับคำๆ นี้กันมากแล้ว เพราะ Pitching เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากของทีมผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะเปรียบเสมือนใบเบิกทางหรือประตูโอกาส ในการเข้าถึงนักลงทุน ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ทั้งนี้ ถ้าจะให้นิยามความหมายของ Pitching เพื่อให้เข้าใจง่ายก็คือ ทักษะการสื่อสารข้อมูล (สินค้าบริการหรือแผนธุรกิจ) เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นความสำคัญในสิ่งที่ผู้พูดนำเสนอ อันจะเป็นการสร้างโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต ดังนั้น Founder หรือ Co-Founder จำเป็นที่จะต้องฝึกทักษะให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระชับ ตรงประเด็น เป็นธรรมชาติ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการของเรา รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นใจ และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น
สำหรับเทคนิคที่จะมาแชร์ในบทความนี้ เป็นเทคนิคที่เรียกว่า PCAN ซึ่งเหมาะสำหรับการ Pitching ในระยะเวลาสั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า Elevator pitch คือการนำเสอแผนธุรกิจให้นักลงทุน ลูกค้า ฯลฯ เข้าใจภายในเวลา 30 วินาทีถึง1 นาที โดยรูปแบบวิธีการใช้ PCAN ประกอบด้วย
P = Problem (ปัญหา หรือโอกาส)
C = Cause / Consequence (สาเหตุของปัญหา หรือผลกระทบที่เกิดจากปัญหา)
A = Answer (คำตอบ หรือไอเดียนวัตกรรม)
N = Net benefits (ประโยชน์ที่คาดว่าธุรกิจองค์กรจะได้รับ)
ตัวอย่างวิธิใช้ PCAN กับธุรกิจแต่ละประเภท
จากตัวอย่าง ผู้อ่านคงจะพอเห็นภาพการใช้ PCAN กันแล้ว ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นสิ่งสำคัญในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆ คือการฝึกพูดบ่อยๆ การหัดพูดกับคนอื่น แล้วฟังฟีคแบคเพื่อนำกลับมาพัฒนา ก็จะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างที่เราตั้งใจไว้ แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่าองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่ว่าจะใช้เทคนิค PCAN หรือเทคนิคใดๆ ก็ต้องทำสิ่งเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ
1. บุคลิกภาพ ต้องดูสะอาดสะอ้าน มีความเป็นมืออาชีพ น่าเชื่อถือ
2. พูดตรงประเด็น ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม พูดวกไปวนมาและที่สำคัญไม่ควรพูดเวอร์เกินจริงหรือโกหกโดยเด็ดขาด
3. วิเคราะห์ผู้ฟัง ควรศึกษาข้อมูลของผู้ฟัง (รู้เขา รู้เรา) เพื่อสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และควรสังเกตอากัปกิริยาท่าทางของผู้ฟังว่า สนใจหรือรับสารเราได้มากน้อยเพียงใด
หวังว่าเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยให้เหล่าสตาร์ทอัพสามารถ Pitching กันได้อย่างประสบความสำเร็จกันทุกคนค่ะ
บทความโดย : นุชนาถ คุณความดี
ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Credit : MindDoJo